รายงานประจำปี 2566 กองทุนราษฎรประสงค์
ตอนที่ 1: สุขภาพกองทุน
“มึนงงในวงกฎ” ประมวลความเคลื่อนไหวและความติดแหง็กของทั้งเงินและคนในกระบวนการยุติธรรม ของรอบปี 2566
ประเดิมตอนที่ 1 สุขภาพกองทุน ด้วย
– ยอดบัญชีกองทุนรายวัน
– ยอดบริจาคของประชาชนเข้าสองบัญชี (บัญชีกองทุนราษฎรประสงค์สำหรับเงินประกันและเงินช่วยเหลือจำเลย กับบัญชีบริหารของมูลนิธิฯ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซึ่งไม่นำเงินจากกองทุนราษฎรประสงค์มาปะปน)
– ยอดเงินประกันที่วางใหม่เทียบกับที่ได้รับคืน และ
– ยอดเงินประกันและจำนวนจำเลยที่ยังอยู่ในมือศาลแต่ละไตรมาส
คลิกที่นี่เพื่ออ่านฉบับเต็ม
ตอนที่ 2: เงินกำลังหมุนไป
รายงานตอนที่แล้วทิ้งท้ายด้วยตัวเลขเงินในเขาวงกตตุลาการที่ลดลงไตรมาสละ 2-3 ล้านบาท จากเกือบ 60 ล้านบาทช่วงต้นปี 2566 เหลือ 50 ล้านบาทเศษตอนสิ้นปีเดียวกัน อาจเกิดคำถามว่าเงินประกันส่วนที่ออกจากเขาวงกตตุลาการนั้นไปไหนต่อ รายงานตอนนี้มีคำตอบว่า เงิน กำลังหมุนไป กำลังหมุนไป กำลังหมุนไป…
- ให้จำเลย (ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง 375 คน 277 คดี รวม 4.26 ล้านบาทในปี 66)
- ให้ผู้ต้องขัง (48 คน รวม 757,500 บาทในปี 66)
- ให้ศาลริบ (รวม 3.66 ล้านบาท และปรับนายประกันอีก 354,000 บาท ในช่วงปี 64-66)
คลิกที่นี่เพื่ออ่านฉบับเต็ม
ตอนที่ 3: จำเลยในเขาวงกต
สิ่งที่เรียกว่า “สิทธิในกระบวนการยุติธรรม” อาจชวนให้คาดหวังว่าจะมีขั้นตอนเป็นลำดับ คืบตามเวลาเป็นเส้นตรงไปข้างหน้าจนถึงปลายทางไม่ว่าทางหนึ่งทางใด มิใช่การวกกลับสู่จุดเดิม ว่าผู้ที่เข้าสู่กระบวนการจะได้เข้าถึงสิทธิที่พึงมี อันตั้งต้นจากสิทธิที่จะรับการประกันตัวเพื่อต่อสู้คดี ก่อนจะเข้าสู่สนามที่แท้จริงคือสิทธิการต่อสู้ในคดีนั้นๆอย่างมีศักดิ์ศรี เพราะผลสัมฤทธิ์ของการต่อสู้คดีมิได้อยู่แค่ตรงที่การ “ได้ประกัน” หรือ “ไม่ได้ประกัน” แต่ในเมื่อความเป็นจริงสำหรับจำเลยคดีการเมืองจำนวนไม่น้อยมิได้เป็นเช่นนั้น มันจึงกลายเป็น “เขาวงกต”
ตอนนี้ประกอบไปด้วย
– วงซ้อนวง: เขาวงกตการช่วยเหลือ เมื่อจำเลยพลัดเข้าส่วนลึกของเขาวงกตตุลาการ
– ยอดเงินประกันตามจำนวนคดีติดตัว
– เจาะลึกคนมีคดีเดียว และ
– วิเคราะห์เงินช่วยค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
คลิกที่นี่เพื่ออ่านฉบับเต็ม
ตอนที่ 4: ผู้ต้องขังในเขาวงกต
ประกอบไปด้วย
– ไทม์ไลน์ต้องขัง 48 คน
– ฮาวทูฝากเงินเข้าเรือนจำ: ความคาดหวัง
– ฮาวทูฝากเงินเข้าเรือนจำ: ความเป็นจริง
คลิกที่นี่เพื่ออ่านฉบับเต็ม
ตอนที่ 5: ขอแรงในเขาวงกต
ถอดบทเรียนด้วยความหวังว่าจะถึงจุดสิ้นสุดเสียที–กับการขอแรงวนไปแบบมึนงงในวงกฎ
ในรายงานประจำปี 2565 ของกองทุนราษฎรประสงค์ ชื่อตอน “ขอแรงราษฎร” เราได้เคยเสนอเรื่องราวการระดมทุนของราษฎรที่ช่วยให้กองทุนฯ ฝ่าภาวะอันตรายไปได้สี่ครั้งในรอบปี 2565 มาเป็นตัวอย่างอันน่าชื่นใจ
ในปีนี้ เราขอนำเสนอความจริงอีกด้าน ที่จะทำให้เห็นว่า การ “ขอแรง” ที่ว่านั้น อันที่จริงแล้วมันมีสภาพเป็นขอแรงในเขาวงกตตลอดมาอย่างไร
คลิกที่นี่เพื่ออ่านฉบับเต็ม
ตอนที่ 6: นายประกันในเขาวงกต
เราขอปิดท้ายรายงานประจำปี 2566 ด้วยเขาวงกตของกลุ่มที่เราจัดไว้ให้อยู่รั้งท้าย คือกลุ่มนายประกัน อันเป็นต้นธาร (ต้นตอ!) ของวิบากกรรมอันยาวนานของกองทุนแห่งนี้ ที่ตั้งต้นจากนายประกันมนุษย์ป้าหนึ่งคน จนเป็นสองคน จนไปสู่การตั้งนามให้เป็นเกียรติแก่ประชาชนว่า “ราษฎรประสงค์” ก่อนจะลงเอยด้วยการขึ้นทะเบียนตัวเองต่อราชการเป็น “มูลนิธิสิทธิอิสรา” เพื่อรักษากองทุนไว้ให้ถึงวันที่ภารกิจของมันจะได้สิ้นอายุขัย
ประกอบไปด้วย
– แยกวงนายประกัน: จากนายประกัน 105 คน กับ 356 คดี ของจำเลย 687 รายที่รับผิดชอบ
– ฮาวทูรับเงินประกันคืน: ความคาดหวัง
– ฮาวทูรับเงินประกันคืน: ความเป็นจริง
– ฮาวทูไม่ได้รับเงินประกันคืน
คลิกที่นี่เพื่ออ่านฉบับเต็ม