รายงานกองทุนราษฎรประสงค์ประจำปี 2565 ตอนที่ 4: วิเคราะห์เงินบริจาคตามหมวดหมู่

ออกแบบกราฟิกโดย ศูนย์สองสตูดิโอ

ตอนแรกเราคิดว่าจะมีผู้บริจาครายใหญ่กว่านี้/แสดงว่าคนบริจาคก็คนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆนี่เอง/กองทุนราษฎร์สมชื่อเลยฮะ

ผู้ใช้ทวิตเตอร์ท่านหนึ่งสะท้อนไว้หลังเราเผยแพร่รายงานประจำปี 2565 ตอนที่ 2 สุดยอดผู้บริจาค

ตอนที่ 4 นี้ เราเจาะลึกให้เห็นถึงความสำคัญของผู้บริจาครายย่อย โดยเฉพาะหลักร้อยซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่สุด ที่เมื่อรวมยอดเงินออกมาแล้วมีระดับใกล้เคียงกับยอดของผู้บริจาครายใหญ่หลักพันหลักหมื่น

จำแนกวิธีการบริจาคได้ 5 วิธี

  • ฝากกับคนตัวเป็นๆ นับรวมทั้งการฝากเงินสดกับพนักงานธนาคาร การโอนเงินข้ามสาขาที่ธนาคาร และการฝากเงินสดหรือเช็คกับมือผู้ดูแลกองทุนฯ
  • ฝากเงินสดกับเครื่อง
  • โอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
  • โอนเงินทางอินเทอร์เน็ต/โทรศัพท์มือถือ โดยไม่รวมการ-
  • ชำระเงินผ่านการแสกนคิวอาร์โค้ดเข้ากองทุนฯ

ในแผ่นที่หนึ่ง สังเกตได้ว่า ยิ่งวิธีการบริจาค “ทันสมัย” เท่าใด จำนวนเงินบริจาคโดยเฉลี่ยก็ลดลงเท่านั้น แต่ถึงอย่างนั้นยอดบริจาคทางออนไลน์และคิวอาร์โค้ดซึ่งเป็นหมวดหมู่ที่มีค่าเฉลี่ยต่อการโอนต่ำสุดก็รวมกันถล่มทลายถึงร้อยละ 94 ของยอดทั้งหมด และปริมาณมหาศาลของตัวเลข “112” (ดูตอนที่ 3) ก็ปรากฏกลายเป็นค่ามัธยฐานหรือค่ากลางของหมวดหมู่ทั้งสองและของการบริจาคทั้งหมด ดังปรากฏในแผนภูมิวงกลมและตารางครึ่งล่าง

ในแผ่นที่สอง แผนภูมิแท่งด้านบนแสดงให้เห็นว่าการบริจาคหลักร้อยมีจำนวนครั้งมากที่สุด รองลงมาคือหลักสิบและหลักพัน ในขณะที่แผนภูมิวงกลมด้านล่างแสดงว่ายอดบริจาคมาจากหลักพันมากที่สุด (1,573,455.72 บาท) รองลงมาคือหลักร้อย (1,300,836.14 บาท) ตามด้วยยอดหลักหมื่นอยู่ไกลๆ (537,083.16 บาท) สรุปได้ว่าจำนวนการบริจาคหลักร้อยรวมกันขึ้นมาจนแซงยอดบริจาคหลักหมื่น และค่อนข้างสูสีกับหลักพัน

ดูแผ่นที่สาม “เจาะลึกหลักร้อย” แล้วจะเห็นภาพของพลังยอดบริจาคร้อยต้นๆอย่างชัดแจ้งยิ่งขึ้นไปอีก แผนภูมิแท่งด้านบนแสดงให้เห็นว่าหลักร้อยที่บริจาคกันมากๆ เกินกว่าร้อยละ 60 มาจากยอด 100-199 บาท ตามด้วยยอด 200-299 และ 500-599 บาทที่มีอยู่อย่างละร้อยละ 10 กว่าๆ ในขณะที่แผนภูมิวงกลมด้านล่างแสดงให้เห็นว่าพอบวกจำนวนเงินออกมาแล้ว ยอด 500-599 บาท มีมากกว่ายอด 100-199 ไม่มากนัก สรุปได้ว่าการบริจาคก้อนน้อยที่รวมกันมากครั้งเข้า ก็มีพลังเทียบเท่าการบริจาคก้อนใหญ่

อ่านตอนต่อไป:

ย้อนอ่านตอนที่แล้ว: